Translated by Waii Natnaree and Sarisa Tangsuksawangporn
1.ศิลปะจากสภาพสังคมเมืองสยาม
การเซอร์ไพรส์จากศิลปะในประเทศไทย
หลังจากภาพยนตร์ไทยเรื่อง “เชคสเปียร์ต้องตาย” และ “เซนเซอร์ต้องตาย” นั้นโดนแบนในไทยทั้งคู่
ในที่สุดก็ได้ฉายขึ้นในปี2557 ณ เทศกาลภาพยนตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Film Festival) โดยพิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์
ผู้รับตำแหน่งเผด็จการในภาพยนตร์ชิ้นนี้ถูกเชื่อว่าเป็นราชวงศ์ไทย และนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งเคยทำรัฐประหารในปี2549 และโครงกระดูกในเสื้อคลุมสีแดงนั้น ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์เพื่อสื่อถึงกลุ่มบุคคลเสื้อแดง
ซึ่งภาพยนตร์ที่เต็มไปด้วยความละเอียดอ่อนนี้ ผู้สร้างจะเป็นใครไปไม่ได้เลยนอกจากมานิต ศรีวานิชภูมิ ผู้กำกับมากฝีมือของไทย ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางนั่นเอง
ในส่วนของงานถ่ายภาพ “Pink man” ก็มีลักษณะที่โดดเด่น ผู้ชายใส่ชุดสูทสีชมพูพร้อมกับรถเข็นจากซูเปอร์มาร์เก็ต เดินไปรอบๆสิ่งต่างๆที่จัดวางไว้ ที่สื่อถึงการเคลื่อนไหวของประชาธิปไตยในยุค70 การทำรัฐประหารโดยทหาร การบริโภคนิยม และศรัทธาทางศาสนาพุทธ เช่นเดียวกันกับวิกฤตทางการเงินในเอเชีย
วงการศิลปะในประเทศไทยแต่ก่อนถูกมองว่ามีอิสระสูงปราศจากการแทรกแทรงของกองเซนเซอร์ มันเป็นรากฐานหลักในสังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมชนชั้นกลาง กรุงเทพและเชียงใหม่เป็นสองจังหวัดที่เป็นศูนย์รวมทางความคิดในสายงานศิลปะ แต่ทั้งคู่ก็มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดในเรื่องสภาพแวดล้อมของงานที่ปรากฏให้เห็นในแต่ละที่
ที่หนึ่ง เป็นที่ๆมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในสังคม แบ่งแยกตัวเองออกจากโลกภายนอก
ในขณะนั้นเอง มีส่วนเล็กๆส่วนหนึ่งในภาคเหนือที่กำลังมองหาความลงตัวในการดำรงวัฒนธรรมดั้งเดิม ผนึกรวมกันกับสิ่งใหม่ๆให้กลายเป็นเมืองที่คนภายนอกสามารถเข้ามาอยู่ได้
กรุงเทพ : การระงับข้อพิพาทโดยรวมและบูรณาการเอกลักษณ์
กรุงเทพมหานครแสดงให้เห็นถึงแบบอย่างของวัฒนธรรมไทยสมัยใหม่ ที่ถูกสังเคราะห์มาจากราชวงศ์สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ จริงๆแล้วกรุงเทพก็ยังเป็นที่ๆมีทั้งเรื่องของราชวงศ์ กองทัพทหาร เหล่าชนชั้นกลางและการแข่งขันทางการเมืองอีกด้วย ซึ่งการแข่งขันที่รุนแรงระหว่างแต่ละภาคส่วน ทั้งในเมืองและชนบทก็กลับกลายเป็นเรื่องที่พบเจอได้ในชีวิตประจำวันไปเสียแล้ว กรุงเทพมหานคร เรียกได้ว่าเป็นตัวอย่างของความขัดแย้งที่ยังคงดำเนินอยู่ วสันต์ สิทธิเขตต์
ศิลปินที่ใช้ชีวิตในเมืองหลวง ผู้ซึ่งสนับสนุนเสื้อเหลืองเสมือนเป็นแบบอย่างสำหรับคนทั่วไป ผู้ก่อตั้งโปรเจคศิลปะที่มีชื่อว่า “พรรคศิลปิน(artist party)” ที่มีเนื้อหาถากถางนายทักษิณและพรรคไทยรักไทย มีการก่อการประท้วงเป็นฉากหลัง สร้างสื่อสิ่งพิมพ์ เสื้อยืด สิ่งต่างๆสำหรับการโปรโมตกิจกรรม เขาถ่ายทอดความขัดแย้งระหว่างเสื้อแดงและเสื้อเหลืองบนท้องถนนออกมาเป็นงานศิลปะ ซึ่งความก้าวหน้าทางการเมืองเหล่านี้ก็ได้เกิดรัฐประหารขึ้นมา ซึ่งเป็นบ่อเกิดความทุกข์แก่ประเทศอันเก่าแก่นี้อยู่ตลอดเวลา
ตั้งแต่การก่อตั้งระบอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิวัติของคณะราษฏร ในปีพ.ศ.2475 ทั้งทหาร ราชวงศ์ และรัฐบาล ก็ไม่เคยที่จะหยุดการต่อสู้นี้ลง ศิลปินชาวกรุงเทพ นที อุตฤทธิ์ ได้แสดงออกถึงความเศร้าจากความซับซ้อนทางการเมืองผ่านงานหลายๆชิ้น เช่น The Shapener, Yellow is All, The Birth of Tragedy และภาพวาดสีน้ำมันชิ้นอื่นๆ
ในฐานะที่เป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับการยกเว้นจากการเป็นเมืองขึ้นของชาติอื่น โดยการดำเนินตามกลยุทธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการเปิดประเทศโดยนำระบบของชาวตะวันตกเข้ามา การกระทำเหล่านี้จึงกลายเป็นเหมือนกันชนในการรักษาเอกราชของประเทศ และทำให้กรุงเทพเป็นฐานสำหรับนานาชาติ และยังเป็นสถานที่ในการจัดสัมนาสำหรับประเทศอื่นอีกหลายๆประเทศ ซึ่งทำให้เกิดการกระตุ้นวงการศิลปะในกรุงเทพ คอราโด เฟโรชี ศิลปินชาวอิตาเลี่ยน ซึ่งกล่าวกันว่าเป็น “บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทย” ซึ่งเคยอาจารย์สอนวิชาประติมากรรมตะวันตกที่กรมศิลปากรของพระราชวัง ตามคำเชิญของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เขาเปลี่ยนสัญชาติเป็นไทยหลังจากอิตาลียอมจำนนให้กับประเทศพันธมิตรในปี ค.ศ.1994 และเปลี่ยนชื่อเป็นศิลป์ พีระศรี หลังจากนั้นก็ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรในกรุงเทพ ซึ่งได้กลายเป็นสถาบันที่สร้างศิลปินที่โด่งดังออกมามากมาย เช่น นที อุตฤทธิ์ , ธวัชชัย ช่างเกวียน ประติมากร, ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ ผู้สร้างพิพิธภัณฑ์บ้านดำ และ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ผู้สร้างและออกแบบวัดร่องขุ่น
ศิลป์ พีระศรี ยังได้สร้างสรรค์สถานประติมากรรมไว้อีกหลายแห่ง เช่นอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย, อนุเสาวีย์ชัยสมรภูมิ และ พระบรมราชานุเสาวรีย์รัชกาลที่1 ในทางกลับกัน งานหัตถกรรมของไทยก็ได้รับประโยชน์มาจากชาวตะวันตก เช่น จิม ทอมสัน อดีตสายลับCIA ของสหรัฐอเมริกา ผู้ค้นพบคุณค่าของผ้าไหมไทยในระหว่างการเดินทางของเขาและได้ส่งเสริมผ้าไหมไทยแก่สายตาชาวโลก ด้วยการก่อตั้งแบรนด์ผ้าไหมไทยขึ้นมา
เชียงใหม่ : ภูมิศาสตร์ทางภาคเหนือของไทย ประเทศแห่งเกษตรกรรมและความสามัคคีในชุมชนชนบท
ภาคเหนือของไทยมีจุดศูนย์กลางธุรกิจอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ และมีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับพม่า สามารถตรวจสอบกลับไปได้อีกในวงจรวัฒนธรรมของพม่า ลาว และมณฑลยูนานในประเทศจีน
อีกทั้งภาษาถิ่นเชียงใหม่ในประเทศไทย เชียงรุ่งในจีน เชียงตุงในพม่า และหลวงพระบางในประเทศลาวก็สามารถใช้แทนกันได้อีกด้วย
เชียงใหม่เป็นอาณาจักรล้านนาโบราณที่รู้จักกันอีกชื่อคือ อาณาจักรแปดร้อยลูกสะใภ้
ในศตวรรษที่13 สิบสองปันนา เชียงรุ่ง และเชียงแสนก็มาร่วมมือในการแต่งงานด้วย ลูกหลานของพวกเขา พ่อขุนเม็งรายได้นำคนชนชาติไต จากสิบสองปันนาและล้านนาเข้าทำการต่อสู้กับกองทัพมองโกเลีย
หลังจากนั้นอาณาจักรก็อยู่ภายใต้การควบคุมของพม่ามา200ปี ในช่วงระหว่างศตวรรษที่16-18
ต่อมาเมื่อพระเจ้าตากสินทรงทำศึกกู้คืนอาณาจักรอยุธยาจากพม่า เชียงใหม่ก็ค่อยๆกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย
ปัจจุบัน จังหวัดเชียงใหม่ได้กลายมาเป็นที่อยู่ของคนไทยและจีน อีกทั้งชนกลุ่มน้อยเช่น แม้ว เย้า อาข่า และกะเหรี่ยง
กลุ่มที่รู้จักกันในชื่อหมู่บ้านยูนนาน เกิดขึ้นจากสมาชิกบางคนของก๊กมินตั๋งที่ยังหลงเหลืออยู่ในประเทศไทย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีเชื้อสายฮกเกี้ยนและมีบรรพบุรุษสืบเชื้อสายมาจากชาวแต้จิ๋ว ทักษิณเติบโตในเชียงใหม่กับน้องสาวของเขา ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทั้งสองเป็นคนเหนือ ซึ่งโดยทั่วไปประชากรในภาคเหนือนี้จะทำเกษตรกรรมกันโดยส่วนใหญ่ ซึ่งมีรายได้ไม่มากนัก และชาวบ้านเหล่านี้ก็เคยให้การสนับสนุนครอบครัวทักษิณมาก่อน
หากกรุงเทพมีการต่อสู้กันระหว่างชนชั้นกลางกับชาวบ้านตามชนบท เชียงใหม่ก็จะเป็นเหมือนกาวที่ช่วยสมานความแตกแยกนี้ได้ ยกตัวอย่างเช่น ในสันป่าตอง มีศิลปินที่ทำงานร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในโครงการที่มีชื่อว่า มูลนิธิที่นา(The Land Foundation) โดยโครงการนี้มีความคิดริเริ่มที่จะฟื้นคืนนาข้าวที่ถูกทิ้งร้าง รวมถึงศึกษาสังคมชนบทและสังคมเมือง เศรษฐกิจการเกษตรและมีการพัฒนาที่ทันสมัย
ในเรื่องของความสมดุลระหว่างมนุษย์และธรรมชาตินั้น ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช ได้นำแม้กระทั่งข้าวไทยและห้องครัวเข้ามาแสดงในแกลลอรี่ เพื่อเชื่อมโยงผู้คนทั้งโลกผ่านความรู้สึกในรสชาติแบบไทยเรา
2.“ศิลปะไทยจำเป็นและควรจะได้รับการจดจำในระดับนานาชาติ”
เขียน: Laura Shen/ ภาพ: Tang Fu Kuen
Tang Fu Kuen เป็นcuratorอิสระในข่ายของทัศนศิลป์ร่วมสมัย ฐานการทำงานหลักของเขาคือกรุงเทพฯ Tang เป็นcuratorชาวสิงคโปร์เพียงคนเดียวที่ได้curateงานที่Venice Biennale ครั้งที่53 ถึงเเม้เขาจะเป็นชาวสิงคโปร์ แต่เขาก็ได้ในชีวิตการทำงานศิลปะของเขาในกรุงเทพฯนานกว่า10ปีแล้ว ในบทสัมภาษณ์ฉบับนี้ เขาได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับ Laura Shen เกี่ยวกับมุมมองของเขาต่อศิลปะไทยในบริบทที่ต้องดิ้นรนและเอาตัวรอดท่ามกลางอุปสรรคการแข่งขันในปัจจุบันนี้
Q: ในฐานะคนสิงคโปร์ ทำไมคุณถึงเลือกกรุงเทพฯเป็นฐานการทำงาน เมืองนี้ขับเคลื่อนคุณอย่างไร วงการศิลปะของที่นี่พัฒนาไปถึงไหนแล้ว
A: ด้วยระยะทางที่ใกล้และการเดินทางที่สะดวก กรุงเทพฯจึงเป็นฐานที่สมบูรณ์แบบสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางไปมาระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกและยุโรป ความลงตัวของการเติบโตอย่างรวดเร็วและธรรมเนียมประเพณีภายใน ความแตกต่างระหว่างคนรวยคนจน เมืองใหญ่และชนบท ความเชื่อเรื่องวิญญาณภูติผีปีศาจและการคอรัปชั่น เหล่านี้ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนา ที่นี่มีทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญาชาวบ้าน และจินตนาการที่สามารถก้าวสู่ระดับนานาชาติ ช่วงเวลาที่พำนักอยู่ในกรุงเทพฯกว่า10ปี ผมสังเกตว่า กรุงเทพฯยังด้อยเรื่องสถาบันที่พัฒนาและส่งเสริมการศึกษาและรับชมศิลปะ บรรดาความคิดสร้างสรรค์ด้านการพัฒนาได้ค่อยๆปรากฏขึ้นจากความคิดอิสระส่วนตัว ปราศจากการแทรกแซงจากรัฐและองค์กร ซึ่งมันก็เป็นความขัดแย้งที่ดี ระดับการเติบโตถัดไปของศิลปินก็ขึ้นอยู่กับว่าภาครัฐจะให้พื้นที่การแสดงออกทางความคิดและสนับสนุนเงินช่วยเหลือมากเพียงใด
Q: วงการอุตสาหกรรมทางความคิดของไทยโดยเฉพาะทัศนศิลป์ สามารถติดต่อกับภายนอกได้หรือไม่ และเราควรจะติดต่อกับภูมิภาคไหนในโลกเพิ่มเติมมั้ย
A: จากปรากฏการณ์การเติบโตของหอศิลป์และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจภายใต้รัฐบาลทหาร การซื้อขายงานศิลปะก็ได้รับผลกระทบไปด้วย วงการนักสะสมงานศิลปะยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ผู้จัดงานเทศกาลศิลปะใหญ่ๆในเอเชียยังไม่กล้าที่จะเลือกประเทศไทยเป็นทำเลในการจัดงาน บางทีในสายตาของนักท่องเที่ยวอาจมองเห็นไทยเป็นประเทศแห่งการท่องเที่ยวเที่ยวมากกว่าศูนย์กลางศิลปะ บางครั้งผมเริ่มเห็นประกายความหวังของศิลปะไทย แต่น่าเสียดายที่กลับไม่ได้รับแรงผลักดันที่จะพาไปสู่ระดับนานาชาติเท่าที่ควร
Q: หน่วยงานประเภทไหนที่คอยช่วยสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ในประเทศไทย และเขาเหล่านั้นได้รับการช่วยเหลืออย่างไรบ้าง
A: การก่อตั้งโครงการ OTOP (หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์)ในช่วงกลางปี2000ภายใต้การนำของอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร ได้ช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมงานฝีมือและงานออกแบบทั้งในและนอกประเทศเป็นอย่างมาก การเข้าร่วมของประเทศไทยในงานหลักใหญ่ๆ เช่น Venice Biennaleก็ได้ช่วยฉุดวงการศิลปะร่วมสมัยไทยขึ้น อย่างไรก็ตามการสนับสนุนเหล่านี้ก็ยังเกิดปัญหาภายในระบบองค์กร และมักพบอุปสรรคเรื่องความชอบธรรมทางกฏหมายเกี่ยวกับโครงสร้างการทำงานและผู้เกี่ยวข้องภายในประเทศ แม้จะเป็นเช่นนั้น ศักยภาพของไทยในแง่การมองโลกในแง่ดีและการเอาตัวรอดก็ได้ช่วยให้ผลผลิตโดยรวมของศิลปะร่วมสมัยและความคิดสร้างสรรค์ไทยยังคงอยู่
3.เมืองสร้างสรรค์,อยู่อย่างชาญฉลาด
เขียน: Laura Shen
หลังจากยุคฟองสบู่แตกในปีพ.ศ.2540 รัฐบาลไทยก็ตระหนักได้ว่ามีเพียงความเปลี่ยนแปลงเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่สามารถกระตุ้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทยได้ ในปีพ.ศ.2547 รัฐบาล อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรได้ริเริ่มการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ไทย อุตสาหกรรมพัฒนาขึ้นจากนวัตกรรมทางภูมิปัญญา กรุงเทพมหานครและเชียงใหม่เกิดการเปิดรับความคิดเห็นใหม่ๆสำหรับการที่จะเป็นเมืองสร้างสรรค์การมีคุณภาพชีวิตที่ชาญฉลาด
- ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เป็นโครงการส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญชิ้นหนึ่งของรัฐบาลไทย จัดตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2546 ภายใต้การควบคุมของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสำนักนายกรัฐมนตรี TCDCได้รับงบประมาณจากสำนักงบประมาณ แนวคิดคือการสร้างศูนย์กลางทางศิลปวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยงานแสดงนิทรรศการหมุนเวียน ฐานข้อมูลงานวิจัย และห้องสมุด หลังจากนั้นจึงมีการสร้างสาขาที่สองขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ และตามมาด้วยสาขาย่อยในอีก14จังหวัดทั่วประเทศ ทั้งนี้โครงการดังกล่าวยังช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ และริเริ่มดำเนินการเครือข่ายออนไลน์สำหรับนักสร้างสรรค์
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)มีสถานะคล้ายกับ TCDC แต่แตกต่างกันตรงที่ BACCไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อประชาชนเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องประสบกับความขัดแย้งที่มีมานานตั้งแต่พ.ศ.2538กับสำนักงานกรุงเทพมหานคร ระบบราชการในไทยมีการบริหารจัดการที่ค่อนข้างแย่ จึงทำให้ BACC ยังสร้างไม่เสร็จและล่าช้ามาจนกระทั่งปีพ.ศ.2547จึงแล้วเสร็จ เกิดเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนศิลปะร่วมสมัยและจุดรวมตัวกันของพื้นที่ศิลปะอื่นๆในกรุงเทพฯ
- เชียงใหม่สร้างสรรค์
อุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ในเชียงใหม่เติบโตและมีความเป็นมืออาชีพขึ้นมาก ทั้งการประสานงาน รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เป็นผลมาจากโครงการ “เชียงใหม่สร้างสรรค์” ที่ร่วมกับรัฐบาล จัดขึ้นโดยคณะกรรมการพัฒนาเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ ตั้งอยู่ที่อาคารวิจัยและถ่ายทอดพลังงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โครงการดังกล่าวมุ่งพัฒนาอนาคตของเมืองเชียงใหม่ให้ก้าวหน้าขึ้น ไม่เฉพาะทางอุตสาหกรรมศิลปะและการออกแบบเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเศรษฐกิจโดยรวม, ประเพณี, งานฝีมือ, เกษตรกรรม, การท่องเที่ยว, อาหาร, ผลิตภัณฑ์ และสุขอนามัย ยกตัวอย่างเช่น โครงการ “Handmade Chiangmai” (HMCM) ที่ประกอบด้วย งานฝีมือจากอุตสาหกรรมระดับครัวเรือนจากทางภาคเหนือของไทย ได้แก่ ผ้าบาติก, เสื้อผ้า, เครื่องประดับ, เครื่องจักสานไม้ไผ่และหวาย “เชียงใหม่สร้างสรรค์” ได้สร้างแผนพัฒนาเศรษฐกิจให้เชียงใหม่ร่วมกันกับรัฐบาลเพื่อดึงดูดนายทุน บริษัทเทคโนโลยีในเชียงใหม่จึงมารวมตัวกันเพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้บริหารและนายทุน
ในปีพ.ศ.2558 ได้มีการจัดนิทรรศการ “My Chiang Mai : เมืองของเราและเหล่าสหาย” ณ TCDC เชียงใหม่ขึ้น ด้วยความนิยมจากภาพยนตร์เรื่อง “Lost In Thailand” ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีน ทำให้วงการศิลปะในเชียงใหม่ต้องมาทำความเข้าใจกันว่า ควรสร้างภาพลักษณ์อย่างไรให้เชียงใหม่และทำอย่างไรให้เชียงใหม่เป็นเมืองน่าอยู่ เพื่อให้เกิดผล เชียงใหม่จึงเข้าร่วมกับองค์การ UNESCO Creative City Network และร่วมกันจัดตั้งเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเชียงใหม่เข้าร่วมเป็นลำดับที่สอง สมาชิกอื่นได้แก่ เมืองปีนังประเทศมาเลเซีย, เมืองเซบูประเทศฟิลิปปินส์ และเมืองบันดุงประเทศอินโดนีเซีย นอกจากนั้นการก่อตั้งองค์กรไม่แสวงผลกำไร Chiang Mai Art Conversation : บทสนทนาศิลปะเชียงใหม่ (CAC)โดยกลุ่มศิลปินเชียงใหม่ยังได้เชื่อมพื้นที่ศิลปะในเมืองเข้าด้วยกัน และจัดตั้ง Chiang Mai Art Map -นิตยสารแจกฟรีที่ประกอบด้วยข้อมูลแนะนำสถานที่ทางศิลปะดีๆในเชียงใหม่อีกด้วย
4.มุมมองศิลปะในไทย
เขียน: Brian Curtin
คำนำ
หลังรัฐปหารในปี1932เป็นการสิ้นสุดราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา และได้เปลี่ยนชื่อจาก “สยาม” เป็น “ไทย”(ประเทศแห่งเสรีภาพ) และใน ศตวรรษที่ 19 ศิลปะได้ถูกกำหนดขึ้นจาก ประวัติศาสตร์ไทย จากพุทธศิลป์โดยผู้เชียวชาญ งานพุทธศิลป์ทั้งหมดสิ้นสุดที่อณาจักร สุโขทัยและอยุทธยา หรือใน ศควรรษที่ 13 ถึง 16 อย่างไรก็ถามมีคำถามมากมายจากนักวิชาการ ทั้งจากเรื่องเล่าของคนที่รักชาติที่ต่อเนื่องกันมา และหลายๆอย่างจากที่เห็นได้ตลอดจากประวัติศาสตร์ไทย จากมรดกทางประวัติศาสตร์ของ เขมร และการแลกแปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับจีนและอินเดีย โดยเฉพาะช่วงเวลา ของยุคสมัยใหม่และร่วมสมัย
หลังจากปี 1932 และได้มีการก่อตั้ง มหาวิทยาลัย ศิลปกรในปี 1943 ก่อตั้งโดยศิลปินชาว อิตาลี Corrodo Feroci(1892-1962) ที่มีชื่อไทยคือ ศิลป์ พีระศรี ได้เข้ามาในไทยครั้งแรก ในปี1924 ท่านเป็นคนปั้นพระบรมรูป ราชกาลที่ 6 (1180-1925)
กระทรวงวัฒนธรรมก่อตั้งในปี 1952 หลวง วิจิตรวาทการ ทำงานด้านบทประพันธ์เพลง ประพันธ์บทละคร และโรงละครแห่งชาติ
โรงละครได้เกิดการชำรุดและมีการปรับปรุงขึ้นในปี 2002 รวมถึงมีการก่อตั้งหน่วยงานของศิลปะวัฒธรรมร่วมมสมัย(OCAC) โดยมีผู้อำนวยการคือศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ และเป็นผู้ดูแล หอศิลวิทยานิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 1995 และเป็นผู้ดูแล The Landmark Comtemporary Art in Asia และดูแล New York’s Scoiety ในปีถัดมา ประเทศไทยได้เข้าร่วม The Venice Biennale ครั้งแรกในปี 2003 ซึ่งCurated โดยศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ อีกเช่นกัน
สัญญาณเตือนของศิลปะร่วมสมัย
ในปี 1990 นิทรรศการในระดับภูมิภาค ศิลปะแนวใหม่จากเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ Fukuoka Art Museum ประเทศ ญี่ปุ่นในปี 1992 ที่ขับเคลื่อนศิลปะเอเชียสมัยใหม่ ประกอบด้วย อินโดเนเซีย ,ฟิลิปปินส์ ,และไทย ในปี 1995 ศิลปะร่วมสมัยเอเชียแปซิฟิกได้จัดขึ้นทุกๆ 3 ปี ซึ่งก่อตั้งในปี 1993 ที่ Queensland Art Gallery ประเทศออสเตเรีย มีการเคลื่อนตัวทางศิลปะที่แหวกแนวโดยมีการจัดการโดย Hans Ulrich Obrist และ Hou Hanru และรวมถึงศิลปินไทย จิตติ เกษมกิจวัฒนา,นาวิน ราวันชัยกุล, สุรสีห์ กุศวงศ์ และฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช
สิ่งที่ปรากฏออกมาขอพื้นที่ศิลปะในขณะนี้ของประเทศไทย แกลเลอรี่ภาพธรรมะ(Gallery Visual Dhamma)ก่อตั้งโดย Alfred Pawlin
และโปรเเกรมการนิศรรการเชิงทดลองในปี1996 ได้เริ่มต้นโปรเจค 304 ซึ่งเป็นโปรเจคที่ไม่หวังผลกำไร โดยที่จัดขึ้นมี Bangkok Experimental Film Fastival และโปรแจคที่มีการทำงานร่วมกับ เกษมวิวัฒนา ในโปรเจคที่ชื่อว่า EMERGE ซึ่งออกสู่สาธรณะชนโดยมีการเชื่อมต่อกันระหว่าง การผลิตผลงานศิลปะ นิศรรการ และ การประชาสัมพันธ์ รวมเข้าด้วยกัน
จุมพล อภิสุขผู้ก่อตั้ง ก่อตั้ง International performance art festival Asiatopia ในปี 1998 ซึ่งดำเนินต่อเนื่องเช่นเดียวกับงาน Womanifesto ซึ่งจะจัดขึ้นในวันสตรีสากล
เชียงใหม่ Social Installation Projectเป็นโครงการที่ทำให้เกิดศิลปะสารธณะมากขึ้น ขณะที่The land foundation ก็ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในปี1988 ด้วยแรงสงเสริมศิลปินไทยที่อยู่ในระดับนานาชาติ ได่แก่ ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช
รางวัล ศิลปธร ในปี2004ได้ทำให้ศิลปินชั้นกลางได้รับโอกาสมากขึ้นนอกจากนี้หอศิลป์ศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ(BACC) ได้เปิดในปี 2008 และมีการอภิปรายครั้งแรกในปี 1995 ซึ่งมีปัญหาเรื่องเงินสนับสนุนเพราะหน่วยรัฐไม่ได้สนับสนุนเงินทุน
แนวโน้มของศิลปะต่อไป
ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้ กฏของทหารตั้งแต่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ายึดอำนาจในปี 2014 และแต่งตั้งตัวเองขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศ นโยบายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นการหาจุดกึ่งกลางระหว่างสองรัฐบาล ระหว่างปัญหาคอรัปชั่น และ การใช้อำนาจในทางที่ผิด
ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ในวงการศิลปะนั้นกระจัดกระจายไม่เป็นที่เป็นทางเท่าไหร่ โดยขณะที่ WTF Bar & Gallery ได้มีการนิทัรรศการที่เป็นเรื่องเป็นราว นิศทรรการ “Conflicted Vision”ในปี2014 ซึ่งเป็นการรวมตัวของศิลปินที่มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน
The Jim Thompson Art Center เป็นอีกหนึ่งพื้นที่คัญ เพื่อหาข้อมูลและขับเคลือนทางศิลปะนอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมการศึกษา ภายใต้ Cutator คนสำคัญ กฤติยา กาวีวงศ์ เมื่อไม่นานมานี้ได้มี นิทรรศการของศิลปิน อริน รุ่งแจ้ง ในงานที่ชื่อว่า”Golden Teardrop” ซึ่งเป็นผลงานคนไทยที่ได้แสดงที่ The Venice Biennale ปี 2013
The Museum of Contemporary Art(MOCA) เปิดในปี 2012 เพื่อแสดงงานที่สะสมมามากกว่า 30 ปี โดย บุญชัย เบญจรงคกุล แต่อีกที่ที่น่าสนใจเช่นกัน MAIIAM Contemporary Art Museum ที่เชียงใหม่ซึ่งจะมีการเปิดภายในปีนี้ พร้อมกับงานสะสมงานศิลปะในไทยโดย Booth Family และที่แห่งนี้ยังมีการจัดแสดงนิศทรรการร่วมสมัย และนิศรรการแรกที่จะจัดแสดงโดยศิลปิน อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล (ผู้กำกับภาพยนต์)
ความแตกต่างของการดำเนินงานระหว่างแกลเลอรี่ ที่ไม่หวังผลกำไร กับ แกลเลอรี่เชิงพานิชย์ ในขณะนี้ TARS Gallery เป็นพื่นที่ขับเคลื่อนศิลปินก่อตั้งในกรุงเทพฯในปี 2015 โดยชาวฝรั่งเศษ Pierre Bechon จุดประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับศิลปินไทยและชาวต่างชาติได้พูดคุยกัน และยังมีพื้นที่อื่นที่ยังคงเก็บรักษาจุดประสงค์นี้ไว้ดังเช่น Speedy Grandma,JAM,Soy Sauce Factory,Jam Factory และ NACC ซึ่ง NACC ในความเป็จริง เป็นอักษรย่อที่ย่อจาก The National Anti-Corruption Committee แต่ยังคงใช้อักษรย่อนี้อยู่ ซึ่งได้เปลี่ยนแค่ประโยคเต็มเป็น Nana Art and Culture Center เนื่องจากบริเวณที่ตั้งเป็นแหล่งรวม Hipster บาร์ และ ร้านอาหาร
Ver Gallery มีนิศรรการที่นับไม่ถ้วนและจะย้ายสถานที่ใหม่ในปี 2016 มาใกล้บริเวรใจกลางเมืองและมีงานเปิด ผลงานศิลปะนามธรรม โดย มิตร ใจ อินทร์ ในพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงมาจากโกดัง และมี Tentacle’s cafe อยู่ในบริเวณเดียวกัน ภายใต้ชื่อTentacles นั้นเป็นพื่นที่เปิดที่รวมทั้ง Gallery , Artist-residency program ก่อตั้งโดย เฮนรี่ แทน ,มาร์ค พิมพ์สามสี แล้วหุ้นส่วนอื่นๆ ซึ่งเปิดในปี 2014 และยังมีสตูดิโอ ศิลปิน บี เถกิง พัฒโนภาษอยู่ใกล้เคียงอีกด้วย
Nova Contemporary เปิดในปี2016 เดือนเมษายน โดยมีนิทรรศการรวมได้โดยมีศิลปินได้แก Luc Tuysman และ Vito Acconci ซึ่งมุ่งเน้นในระดับสากลหรือทำตามเส้นทางเดียวกับ Bangkok City City Gallery และอีกที่ที่น่าสนใจ White cube space ซึ่งเปิดในปี 2015 หลังจากนั้นได้มีการรร่วมมือกับ Jim Thompson Art Center เพื่อแสดงงาน วิดิโอ ,การจัดวาง และ การแสดง
โดยศิลปิน กรกฤช อรุณานนท์ชัย เพื่อสนับสนุนอาชีพการทำงานในต่างประเทศ
Subhashok Arts Centre และ H Gallery Bangkok มีเป้าหมายที่จะเปิดโอกาสให้ศิลปินรุ่นเยาว์ให้จัดแสดง ขณะที่แกลเลอรี่ที่เปิดมายาวนานอย่าง Thavibu Gallery ได้ปิดตัวลงในปี2015 โดยผู้อำนวยการ Jorn Middelborg ได้ให้เหตุผลว่า โดยโครงสร้างของตลาดศิลปะได้เปลี่ยนแปลงไป ศิลปะที่ราคาสูง ถูกขายโดยราคาประมูลในระดับสากล แต่งานศิลปะราคาในระดับกลางๆนั้นมีการจัดการโดยสตูดิโอ หรือติดสัญญาณระหว่างแกลเลอรี่
Lyla Gallery เชียงใหม่ เปิดในปี 2014 และมีการเพิ่ม The Land Foundation โดยมี Gallery Seescape,C.A.P Studio,Thapae East,31 Century Museum of Cemporary Spirit และ H Gallery’s ซึ่งอยู่เขตแม่ริม