




PHOTO•SYNTHESIS
– An experimental exhibition by a group of young artists, exploring new possibilities with the photographic medium.
Artists
Kanich Khajohnsri / Jittapoom Aryapitak / Nirintana Koomanee /
Micaela Marini Higgs / Zhang Jiechen
Curated by
Pakchira Chartpanyawut
Piyachanok Raungpaka
Opening reception: 3rd Feb 2017, 18.00
Exhibition period: 3rd Feb – 3rd Apr 2017
***
วิวัฒนาการของภาพถ่ายนั้นเดินทางไปพร้อมกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์และการพัฒนาทางเทคโนโลยี ในขณะเดียวกันศิลปินที่ใช้ภาพถ่ายในการทํางานต่างก็ทดลองอย่างต่อเนื่องเพื่อค้นหาแนวทางในการใช้ภาพถ่ายเป็นสื่อสําหรับการแสดงออกทางศิลปะและบัญญัตินิยามใหม่ๆตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
จากแนวคิดด้านการทดลองในประวัติศาสตร์ของภาพถ่าย Photo●Synthesis เป็นนิทรรศการกลุ่มของศิลปินรุ่นใหม่ที่ใช้สื่อภาพถ่ายในแนวทางที่แตกต่างกัน ทั้งการปะติด ตัดต่อ การสร้างประติมากรรมจากรูปถ่าย การใช้ภาพถ่ายเพื่อนําเสนอความรู้สึกภายใน จนไปถึงการค้นหาความคลุมเครือระหว่างพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัว มาทํางานร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและกระบวนการทํางาน เปรียบเสมือนเป็นห้องทดลองที่ให้ศิลปินได้ร่วมสังเคราะห์ความเป็นไปได้ใหม่ในงานของตัวเองและมองเห็นความเป็นไปของศิลปินท่านอื่นขณะทำงานร่วมกัน
ผลงานของ Micaela Marini Higgs ศิลปินชาวอเมริกัน สร้างสรรค์ผลงานผ่านเทคนิคตัดแปะกระดาษ(Collage) ระหว่างที่เธอผลิตผลงานศิลปินคำนึงถึงหัวข้อที่หลากหลายตั้งแต่ การเมืองร่วมสมัยที่ โศกนาฏกรรมทางประวัติศาสตร์ รวมถึงการตั้งคำถามเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของศิลปินเพศหญิง ประกอบเป็นผลงานการปะติดที่เกิดขึ้นมาจากการเชื่อมต่อ การตีความ และความทรงจำของศิลปิน ที่มีนัยยะของการล้อเลียน ด้วยลักษณะผลงานที่มีความน่ารักและการเสียดสีในเวลาเดียวกัน
สำหรับ นิรินธนา คุมมณี ภาพถ่ายเป็นเหมือนสื่อหนึ่งที่เธอสามารถระบายความรู้สึกของตัวเองลงไปได้อย่างเต็มที่ ผลงานของนิรินธนาจึงเป็นเหมือนกระจกที่สะท้อนความรู้สึกนึกคิดของเธอที่มีต่อตัวเอง และเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัว เป็นการพยามรับรู้สภาวะทางอารมณ์ของตัวเองและหาความเชื่อมโยงกับบริบททางสังคมต่างๆ
Zhang Jiechen ศิลปินหญิงชาวไต้หวัน นำเสนอผลงานผ่านเทคนิค Photomontage เพื่อประติดประต่อฉากที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญของวัตถุกับพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไปอย่างแยบคาย เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลที่ไม่สิ้นสุดแก่ตัวศิลปินเอง
บ่อยครั้งที่ คณิช ขจรศรี มักตั้งคำถามกับบริบททางสังคม จากการเป็นคนชื่นชอบการเดินสำรวจที่ต่างๆ ในกรุงเทพมหานครและเลือกถ่ายทอดประเด็นทางสังคมผ่านผลงานภาพถ่าย พร้อมทั้งตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ โดยศิลปินเลือกนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับความคลุมเครือของพื้นที่ผ่านวัตถุที่ผู้คนสร้างขึ้นเพื่อใช้จับจองและครอบครองพื้นที่สาธารณะ ศิลปินตั้งคำถามต่อสิ่งเหล่านั้นซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนคุ้นเคยและมองข้ามมันไป
จิตตภูมิ อารญาพิทักษ์ ศิลปินภาพถ่ายผู้ต้องการก้าวข้ามระนาบสองมิติของงานภาพถ่ายผ่านการสร้างประติมากรรมจากภาพถ่าย โดยใช้ลักษณะของอนุสาวรีย์ที่ยกย่องวีรชนในประวัติศาสตร์ ซึ่งมักจะเล่าเรื่องราวเพียงด้านเดียว เป็นการปิดกั้นการรับรู้เรื่องราวหรือมุมมองที่แตกต่างออกไป ในที่นี้ศิลปินได้นำเสนอผ่านการถ่ายภาพพื้นผิวภายนอกของอนุสาวรีย์ที่ความเงางามและเปล่งประกายในมุมต่างๆ และสอดแทรกภาพเนื้อภายใต้พื้นผิวที่เงางามดังกล่าว นำมาปะติดให้เกิดเป็นปริมาตรของประติมากรรม เพื่อสื่อให้ถึงความเป็นมนุษย์ของวีรชนเหล่านั้น
นิทรรศการ Photo●Synthesis นี้จะมีการจัดแสดงเป็นระยะเวลาทั้งหมด 2 เดือน โดยภายในระยะเวลา 1 เดือนแรกหลังเปิดนิทรรศการ ซึ่งเริ่มต้นด้วยการจัดแสดงผลงานที่ศิลปินเคยทำก่อนหน้า และจากมุมมองที่แตกต่างกันของศิลปินทั้ง 5 ที่มีต่อภาพถ่ายและการใช้ภาพถ่ายในฐานะสื่อในการแสดงออกทางศิลปะ ศิลปินทุกคนจะได้เข้าสู่กระบวนการทดลองสร้างสรรค์ผลงาน ภายใต้โครงสร้างของนิทรรศการที่ถูกจัดขึ้น ผ่านกิจกรรมของการสนทนาและการศึกษางานศิลปะของกันและกัน ทำงานพร้อมทั้งการบันทึกและแสดงความคืบหน้าออกมาตลอดระยะเวลาหนึ่งเดือนแรก ในรูปแบบของนิทรรศการกึ่งการนำเสนอผลการทดลอง เพื่อให้ศิลปินได้ทดลองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆที่หลุดพ้นจากกรอบความคิดเดิมๆของศิลปินเอง อีกทั้งพยายามหาขอบเขตและสุนทรียะทางการรับรู้แบบใหม่ในศิลปะภาพถ่าย
—–
The history of photography is inherently linked with scientific experimentation and technological advancement. Likewise, artists who work with photography are constantly experimenting with the medium as a mean of artistic expression, creating new possibilities of what photography could be.
Using this narrative of experimentation, this exhibition brings together a group of young artists, who in different ways use ‘photography’ as part of their practices, from photographic collage, montage and sculpture, to using photography as a medium of expressing the inner self and exploring the ambiguity between public and private spaces. Coming together, to engage with one another as well as the public, to exchange ideas and working processes, as a kind of “open laboratory” in “synthesizing” and exploring the different possibilities of contemporary photographic practices.
Argentine-American artist Micaela Marini Higgs creates works using paper collage. Her work touches on a wide range of subjects from contemporary politics to historic tragedies to the identity of a female artist. With this, her work is a collection of various connections, interpretations, and memories. A hint of playfulness shines through her adorable yet sarcastic works.
For Nirintana Koomanee, photography is where she fully expresses her feelings. Her works act as a mirror of her own thoughts about herself and the events happening around her. Photography is a way to recognize her emotions and to connect them to a social context.
Taiwanese artist Zhang Jiechen uses photomontage techniques to cleverly connect unexpected scenes between different objects and places to tell stories from her daily life, which serves as a source of infinite inspiration.
Kanich Khajohnsri often questions social contexts in our society. He likes to stroll around and explore Bangkok, using photography to explore societal issues that are often overlooked. His photographs study human behavior, exploring the unclear border between the private and the public through the manmade objects used to claim public spaces.
Jittapoom Aryapitak is a photographer who goes beyond the two-dimensional nature of photography by creating sculptures from photographs. He is inspired by statues of heroic historical figures, whose stories are usually presented from a single perspective, barring different ideas and narratives. By showing the exterior of a bright and shiny statue at different angles, with images depicting flesh beneath the shining surface, he connects them together to create volume in his sculptures –at the same time suggesting to the organic and human side of those heroic figures.
This exhibition explores the works of these artists and their different perspectives on photography as a medium of artistic expression. At the same time the format of this exhibition aims to push the artists further through experimentation and sharing of knowledge. While the exhibition is on display for the total of 2 months. For the period of 1 month following the exhibition’s opening, the five artists will experiment under the scope of this theme through discussions and learning about each other’s works. During this period, this process will be continuously documented and displayed in exhibition. With this experimental format, the artists will be able explore what photography means for them as well as looking at new possibilities outside of their usual practices.