Unstable Terrain
โดย   ณัฐพล สวัสดี & ศักดิ์สิทธิ์ คุณกิตติ
Nattapon Sawasdee & Saksit Khunkitti

Opening reception:  25th November  2016, 18.00
Exhibition period:  25 November – 25 December 2016
Artist Talk:  8th December 2016, 14.00

***


ณัฐพล สวัสดี และ ศักดิ์สิทธิ์ คุณกิตติ ร่วมแสดงผลงานชุดใหม่ที่สำรวจแนวคิดเรื่องเสถียรภาพผ่านภาษานามธรรม ด้วยการใช้วัสดุและการออกแบบที่สวนทางกัน ผลงานของศักดิ์สิทธิ์นั้นประกอบด้วยวัสดุก่อสร้างที่มี “น้ำหนัก” และพื้นผิวทางสถาปัตยกรรม ส่วนณัฐพลเน้นการใช้ แสง และวัสดุที่ “เบา” และเปราะบางเป็นส่วนสำคัญ ศิลปินทั้งคู่ได้สำรวจประเด็นที่เชื่อมโยงกันแต่แสดงออกผ่านสำนวนภาพที่แตกต่างกัน โดยทั้งสองได้ไตร่ตรองถึงความปรารถนาในความมั่นคง การดิ้นรน การปฏิเสธและการยอมรับในความเป็นไปได้ใหม่ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่แน่นอน

ผลงานชุดที่ผ่านมาของณัฐพล มักเป็นการตั้งคำถามต่อเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และบรรทัดฐานทางสังคม-การเมือง ส่วนงานของเขาในนิทรรศการครั้งนี้แสดงถึงความพยายามที่จะย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นในการทำศิลปะของเขา กลับไปสู่การวาดภาพในฐานะการถ่ายทอดความรู้สึกและ “ตัวตน” ภายในของศิลปิน

“ในห้วงเวลาที่ลงมือทำงานจิตรกรรมชุดนี้ ผมพยายามลืมสิ่งที่อยู่ภายนอก แล้วเพ่งความสนใจอยู่แค่สิ่งที่อยู่ตรงหน้า นั่นคือสีกับพู่กัน และจัดการกับมันให้ได้ เหมือนย้อนเวลากลับไปในตอนที่สนใจกับศิลปะใหม่ๆ โดยไม่ต้องสนใจอะไรมาก จำได้เลยว่าตอนที่พ่อและแม่พาไปสมัครสอบตอนกำลังจะเข้าไปเรียนที่มหาวิทยาลัย อยู่ดีๆ ก็มีข้อสอบวาดเขียนให้ทำซึ่งตัวผมเองก็ไม่ได้เตรียมใจมาก่อนว่าจะต้องสอบวาดเขียน แต่ก็ลงมือทำมันโดยแบบไม่รู้เรื่องรู้ราว ก็ทำแบบไม่เป็น แต่ว่ามันสนุกมากๆ ตอนนี้ผมต้องการอะไรแบบนั้น ในงานชุดนี้อยากจะลืมสิ่งที่เคยทำมา และอยากจะปลดปล่อยอะไรบางอย่างออกไปในแบบที่ไม่ต้องสนใจใคร พังค์ๆ”

สำหรับณัฐพลแล้ว ความรู้และการตื่นตัวต่อความเป็นไปในโลกรอบตัวได้กลายเป็นภาระ คำถามคือคนเรานั้นจะสามารถปล่อยวางภาระเหล่านี้แล้วกลับไปเป็นคนเก่าได้หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ได้ หรืออย่างน้อยก็ได้ไม่ทั้งหมด ความปรารถนานี้เป็นเพียงแค่ปฏิกิริยาตอบสนองโดยธรรมชาติต่อโลกที่ไม่แน่นอนแห่งนี้ แม้ความคิดที่จงใจเพิกเฉยต่อโครงสร้างสังคมการเมืองเพื่อค้นหาตนเองดังกล่าวอาจดูไร้เดียงสา โดยเฉพาะเมื่อตัวตนนั้นจะถูกดัดแปลงไปอย่างปฏิเสธไม่ได้ก็ตาม แต่เราก็สามารถให้เหตุผลได้ว่า กระบวนการเหล่านี้จะสามารถนำไปสู่การเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงและสะท้อนประสบการณ์ที่มนุษย์เราเคยพบเจอมาได้อย่างแจ่มชัดยิ่งขึ้น

การเลือกวัสดุและรูปทรงในผลงานของศักดิ์สิทธิ์ สะท้อนถึงความสนใจอย่างต่อเนื่องของศิลปินที่มีต่อสถาปัตยกรรมและสภาพภูมิทัศน์ในเมือง วัสดุก่อสร้าง เช่น ซีเมนต์ อิฐคอนกรีตและกระจก แสดงถึงพัฒนาการด้านอุตสาหกรรมและแนวทางในการสร้างมาตรฐาน ซึ่งเห็นได้จากกระบวนการผลิตวัสดุเหล่านั้น รวมถึงการนำมาใช้ในการก่อสร้างสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ อีกทั้งสิ่งเหล่านี้ยังเป็นตัวแทนของความสามารถของมนุษย์ที่สามารถเอาชนะธรรมชาติและได้สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับความต้องการและความปรารถนาของมนุษย์

“โดยส่วนมากแล้ว คนเรามักจะคิดว่าสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นที่อยู่รอบกายเรานั้นเป็นสิ่งที่ถาวร เป็นสิ่งที่คงทน มั่นคง และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย แต่ที่จริงแล้ว สิ่งต่างๆ นั้นเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่ว่าจะด้วยการวางแผน การพัฒนาอย่างไร้ทิศทางหรือปัจจัยทางธรรมชาติ”

ด้วยการใช้รูปร่างของสภาพเมืองที่เสื่อมสลาย ประกอบกับการทับซ้อนของวัสดุและโครงสร้าง ผลงานของศักดิ์สิทธิ์กำลังพยายามย้ำเตือนผู้ชมถึงความไม่แน่นอนของสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น และยังสื่อถึงโครงสร้างทางสังคมที่สร้างสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นขึ้นมาอีกด้วย ศิลปินได้แสดงให้เห็นผ่านการอ้างอิงด้วยโครงร่างของแผนที่เมือง ที่เชื่อมโยงกับการวางผังเมือง อันเป็นโครงสร้างทางจินตนาการที่อาจจะ เกิด/ไม่เกิด ขึ้นจริงบนพื้นโลก ผลงานของศักดิ์สิทธิ์สร้างคำถามเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องโครงสร้าง รวมถึงความเป็นระเบียบและความมั่นคง ผลงานของเขาตั้งคำถามกับผู้ชมว่า คิดอย่างไรเกี่ยวกับโครงสร้าง(หรือการไม่มีโครงสร้าง)ที่เราอาศัยอยู่ และโครงสร้างลักษณะใด(หรือแม้แต่ปราศจากโครงสร้าง) ที่อยากจะอยู่ในอนาคต

—–

ณัฐพล สวัสดี เป็นศิลปินและนักดนตรี เขาเชื่อในการใช้ศาสตร์ที่หลายแขนงเพื่อเข้าถึงศิลปะ และเชื่อว่าศิลปินควรสร้างสรรค์ผลงานร่วมกับพลังต่างๆ ในสังคมเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ณัฐพลมักใช้สื่อที่หลากหลาย เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย และเสียง เขาสร้างผลงานที่สะท้อนให้เห็นการพัฒนาทางสังคม-การเมืองร่วมสมัย รท้าทายโครงสร้างและบรรทัดฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ศักดิ์สิทธิ์ คุณกิตติ เป็นศิลปินที่สนใจเกี่ยวกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวันที่มีต่อสภาพแวดล้อม สังคม และสุนทรียภาพ รวมถึงวิธีที่ประสบการณ์เหล่านั้นสะท้อนออกมาในรูปอารมณ์และความรู้สึก เขาพยายามที่จะหาจุดบรรจบร่วมกันกับมุมมองและความคิดที่หลากหลาย ด้วยการสำรวจความแตกต่างระหว่างแนวคิดและปรากฏการณ์เช่น จิตนิยม /ปฏิบัตินิยม ,ความคิดสมัยใหม่ / ความคิดหลังสมัยใหม่, จิตรู้สำนึก /จิตไร้สำนึก, ความมีระเบียบ/ ความวุ่นวาย

—–

Nuttapon Sawasdee and Saksit Khunkitti present new works exploring the concept of ‘stability’ through the shared language of abstraction. Using contrasting materials and forms, Saksit’s work featuring ‘heavy’ construction materials and architectural surfaces, with Nuttapon utilizing ‘light’ materials and fragile structures, the artists explore similar themes using different visual rhetoric. Together, they contemplate our desire for stability as well as the struggles, rejection, and acceptance of new possibilities that result from instability.

For Nattapon, whose recent works have questioned historical narratives and socio-political norms, the works presented in this exhibition represent an attempt to go back to the beginning of his artistic practice- of painting as a mean of expressing the inner ‘self’.

“In the process of painting these works, I try to forget the world outside and focus only on the paint and brush that lie before of me. Like going back to the time when I first became interested in art, when I did not care much about the world around me. I remember when my parents took me to my university entrance examination and I hadn’t realized that I had to do a drawing exam. I hadn’t prepared for it but I just did it, not caring how it was going to turn out. I had a lot of fun. Now I long for that kind of careless enjoyment. I just want to forget what I have learned since then, to produce something and not care; Punk style.”

For him then, the knowledge and awareness of the world around him have in some ways become a burden. The question here is whether one can completely let go of such a burden and go back to being their past self. The answer is no, not completely, but this desire is only a natural reaction to living in an unstable world. And while it may seem like a naïve desire, one can argue that such a conscious abandonment of structure, in this case socio-political constructs, in search of the self, though that identity has undeniably become altered, can reveal a more authentic and expressive reflection of a person’s present lived experience.

Saksit expresses the uncertainty of being through the metaphor of order and structure found in man-made urban environments and construction materials, such as cement, concreate blocks, and glass. The materials that he uses reflect the industrial development and processes of standardization required in their production, as well as the ways that these materials are used in creating standardized environments. Additionally, they also represent human’s ability to overcome nature and create environments that are supposedly suitable for our needs and aspirations.

“Often, we think of the man-made structures and environments that surround us as permanent, as things that are durable, stable, and that cannot be easily altered.
But in reality, they are constantly changing whether through planning, organic development, or natural factors.”

By using the aesthetic of urban decay, layering materials and structures, Saksit is attempting to remind the viewers of the impermanent nature of our built environments, and by extension, the social structures that create them. He demonstrates this through visual references to urban cartography, which is linked to the practice of urban planning, a kind of imagined structure that may or may not be applied to the physical world. His works question the idea of ‘structure’ as wel as the concepts of order and stability. What do we think of the structure (or lack thereof) that we live in? And what kind of structure (if any) would we like for the future?

—–

Nuttapon Sawasdee is a visual and sound artist based in Bangkok. He believes in a multi-disciplinary approach to art, and that artists should work with other forces in society to engender change. Using a variety of media, such as painting, photography, and sound, he creates works that reflect contemporary socio-political developments and challenge established narratives and norms.

Saksit Khunkitti is a Bangkok based artist. His practice deals with the aesthetic, social, and spatial experiences of everyday life and the ways in which they are manifested effectively. He attempts to find points of convergence among a diverse range of subjectivities by exploring different dichotomies, such as those between idealism/pragmatism, modernism/post-modernism, conscious/unconscious, and order/chaos, among others