by อภิชญา ไหมทิม
นิทรรศการ Photo Synthesis จัดขึ้นที่ Tentacles Gallery จัดแสดงผลงานของศิลปิน 5 คน คือ คณิช ขจรศรี จิตตภูมิ อาญาพิทักษ์ นิรันธนา คุมมณี Micaela Higgs และ Zhang Jiechen ศิลปินเหล่านี้ใช้ภาพถ่ายเป็นสื่อในการถ่ายทอดมุมมอง ความคิด โดยแต่ละคนก็มีแนวทางที่แตกต่างกันออกไป
ผลงานที่ชื่นชอบในนิทรรศการนี้คือผลงานของคณิช ขจรศรี
เป็นงานภาพถ่ายในกรอบรูป ติดตั้งบนฝาผนังทั้งสิ้น 3 รูป ด้วยกัน เมื่อเทียบกับผลงานของศิลปินคนอื่นที่พยายามจะข้ามผ่านความเป็น 2 มิติ ดังตัวอย่างงานของ Zhang Jiechen
ศิลปิน หญิงชาวไต้หวัน ที่นําเสนอผลงานผ่านเทคนิค Photomontage ผลงานของจิตภูมิ อาญาพิทักษ์ ที่สร้างประติมากรรมจากภาพถ่าย เป็นต้น จะเห็นได้ว่าผลงานภาพถ่ายของคณิช ไ ม่ได้มีความแปลกใหม่ไปกว่าผลงานของศิลปินที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นเลย กลับมี ความธรรมดาและเรียบง่าย แม้เทคนิคการถ่ายภาพจะเรียบง่าย ไ ร้ซึ่งการผสมผสานของเทคนิคอื่นๆ แต่เรื่องราวที่แฝงอยู่ทําให้ ภาพถ่ายเหล่านี้ไม่ได้เป็นแค่ภาพถ่ายธรรมดา
ศิลปินจัดฉากโดยจําลองเอาสิ่งของทั่วๆ ไป เช่น ราวตากผ้า ขวดน้ํา (สีชมพูและสีเขียว) เศษผ้าสีส้ม ไม้กวาด (ส่วนปลาย หุ้มด้วยพลาสติกสีชมพู) กระแป๋งโบกปูน เขานําสิ่งเหล่านี้มาจัดวางให้เหมือนกับการวางสิ่งของต่างๆ เพื่อจับจองพื้นที่ริมถนนและ พื้นที่สําหรับจอดรถ ดังนั้นหน้าที่การใช้สอยของมันก็ไม่เหมือนเดิม และด้วยคณิชเป็นศิลปินที่ชอบตั้งคําถามกับบริบททางสังคม และตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ชุดภาพถ่ายนี้จึงไม่ได้เป็นเเค่ภาพถ่ายทั่วไปที่จัดวางองค์ประกอบภาพเพื่อความ สวยงาม แต่กลับมีบางอย่างแอบแฝงอยู่ในภาพ ดึงดูดให้ผู้ชมค้นหาและตั้งคําถาม
ต้องยอมรับว่าหากเราไม่รู้ประวัติของศิลปิน เรื่องราวและเเนวคิดการทํางานของเขา ก็คงไม่สามารถเข้าใจถึงเรื่องราวที่ ศิลปินนําเสนอผ่านภาพถ่ายได้ และหากศิลปินไม่ได้ทิ้งประเด็นไว้ให้คิดต่อ เราคงไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่มองไม่เห็น นั่นคือ ‘อํานาจที่แฝงอยู่’ ใ นสิ่งของ จากราวตากผ้ากลายมาเป็นสิ่งของจับจองพื้นที่ กระแป๋งโบกปูนกลายเป็นวัตถุที่ถูกทําให้เคลื่อนย้าย ยาก ยิ่งให้ความรู้สึกคงทนถาวร และสีสันยิ่งเพิ่มความเด่นชัดและบ่งบอกถึงสถานะของพื้นที่ได้ในระยะไกล วัตถุเหล่านี้ทําให้คน ได้ครอบครองพื้นที่อย่างเด็ดขาดหรือไม่ นี่คือสิ่งที่เราคิดตั้งคําถามเมื่อได้ชมภาพถ่าย
วัตถุสิ่งของที่มีมวล มีรูปร่างทางกายภาพ แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ใช้จับจองพื้นที่ว่างได้ แค่นํามันไปวางไว้บนลานคอนกรีต สนามหญ้า หรือแม้เเต่พื้นที่ริมถนน พื้นที่ว่างเหล่านั้นไม่ได้เป็นพื้นที่ว่างอีกต่อไป วัตถุสิ่งของเหล่านี้ไม่ได้วางอยู่เฉยๆ แต่เหมือน กับว่ามันพูดหรือเป็นภาษาสัญลักษณ์ที่บอกให้ผู้อื่นเข้าใจได้ว่าพื้นที่ตรงนี้มีคนจับจอง
ประเด็นที่น่าสนใจของภาพถ่ายชุดนี้คือ อาณาเขตที่ถูกจับจองนั้นมีพื้นที่กว้างแค่ไหน เท่ากับพื้นที่ของราวตากผ้า กระ แป๋งโบกปูนหรือครอบคลุมบริเวณไปไกลกว่านั้น และถ้าหากมีคนฝ่าฝืน สถานการณ์จะเป็นอย่างไรในเมื่อมันเป็นพื้นที่สาธารณะ ไม่ได้มีตัวบทกฎหมายมาครอบทับอีกที ไ ม่ได้มีเส้นขาว – แดง ริมทางเดินเท้าที่บ่งบอกว่าพื้นที่ตรงนี้ห้ามจอด ปัญหาที่ดูเลือนลาง ความคลุมเครือของพื้นที่เริ่มปรากฏให้เห็น
จากที่ศิลปินตั้งคําถามต่อวัตถุที่คนหยิบยกมาใช้เพื่อจับจองพื้นที่สาธารณะ ตั้งข้อสงสัยกับพฤติกรรมของมนุษย์ ภาพถ่ายธรรมดาชุดนี้ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าวัตถุสิ่งของทั่วๆ ไป ที่เราคุ้นชินและมองข้ามนั้นแฝงไปด้วยอํานาจ(อันไม่ชอบ)ซ่อนเร้น อยู่ เเละเพื่อให้ได้ครอบครองและใช้ประโยชน์จากพื้นที่นั้นๆ สิ่งของทั่วไปจําพวกนี้จึงกลายเป็นตัวกั้น ปิดบังสิ่งที่มองไม่เห็นไปโดย ง่าย